วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560

ประเพณีและวัฒนธรรมประเทศลาว

แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

ประเพณีและวัฒนะธรรมประเทศลาว (Laos)




อาหารการกินประเทศลาว
อาหารการกิน อาหาร ลาวขึ้นชื่อเรื่องของสด  โดยเฉพาะผัก ผลไม้  และสัตว์น้ำจืด เช่น ปลา  กุ้ง  และหอยน้ำจืด เป็นต้น เพราะลาวอุดมสมบูรณ์ด้วยมีแม่น้ำหลายสาย อาหารที่ลาวจะคล้ายกับอาหารไทยหลายอย่าง  เช่น  ส้มตำ ลาบ ไก่ย่าง เป็นต้น  อาหารหลักของชาวลาวคือ ข้าวเหนียว  ใครไปเที่ยวเมืองลาวรับรองว่าไม่มีปัญหาเรื่องอาหารการกินอย่างแน่นอนค่ะ
เครื่องดื่มเครื่อง ดื่มที่นิยมมากที่สุดคือ เบยลาว หรือ เบียร์ลาว  ที่ลาวผลิตเองในประเทศ ดีกรีไม่แรง รองลงมาได้แก่เหล้าขาว  ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือบ้านช่างไห  หลวงพระบาง  กาแฟลาวเป็นกาแฟพันธุ์ดีและรสชาติเยี่ยมพันธุ์หนึ่ง
                                                                                           ซุบไก่ (Chicken Soup) 
                                     สลัดหลวงพระบาง


ความปลอดภัย
ด้วยระบอบการปกครองที่เคร่งครัด ประกอบกับการยึดมั่นในขนบธรรมเนียมวิถีชาวพุทธ คนลาวส่วนใหญ่มีจิตใจโอบอ้อมอารีและเป็นมิตรกับชาวต่างชาติ ไม่ปรากฏเหตุการณ์ทำร้ายนักท่องเที่ยวอย่างรุนแรงมีแต่การลักเล็กขโมยน้อย หรือฉวยโอกาสโกงราคาสินค้าและบริการนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปเอง หากต้องการความสะดวกควรใช้บริการไกด์ท้องถิ่น สามารถติดต่อได้ตามสนามบิน สถานีขนส่ง และท่าเรือท่องเที่ยวแทบทุกแห่ง สิ่งที่นักท่องเที่ยวพึงรำลึกถึงเวลาไปเที่ยวยังสถานที่ใด ควรอ่านป้ายประกาศต่างๆเสียก่อน และอย่าละเมิดข้อห้าม เจ้าหน้าที่ลาวพร้อมปฏิบัติหน้าที่อย่างแข็งขัน ชาวลาวมีขนบธรรมเนียมเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาและประเพณีท้องถิ่นเช่น เดียวกับไทย อาทิการแต่งกายไปวัดต้องเรียบร้อย ไม่นุ่งสั้น ไม่สวมเสื้อที่เห็นเนินอก หรือสายเดี่ยวไม่ใส่รองเท้าเข้าไปในโบสถ์ ถือศรีษะเป็นของสูง มือขวาสำคัญกว่ามือซ้ายไม่เข้าบ้านผู้อื่นก่อนได้รับการเชื้อเชิญ และต้องถอดรองเท้าก่อนเข้าบ้านเสมอ เวลาไปเที่ยวหมู่บ้านชนท้องถิ่นยิ่งต้องระวัง พยายามสอบถามกฏระเบียบประเพณีเสียก่อน แต่ละแห่งจะแตกต่างกันไป




วัฒนธรรมและลักษณะประจำชาติ
มีความซื่อสัตย์สุจริต กล้าหาญ อดทน รักอิสระเสรี รักหมู่คณะ ไม่ชอบการเบียดเบียนข่มเหง เป็นชาติที่รักสงบ มีความเคารพนับถือในบรรพบุรุษ นับถืออาวุโสทางอายุเป็นเกณฑ์สำคัญ มีอิสระในการเลือกคู่ครอง และมักจะศึกษาจิตใจกันก่อน ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวใหญ่ เช่นเดียวกับชาวไทยทั่วไป การแต่งกาย ผู้หญิงนิยมเกล้าผม นุ่งผ้าซิ่น และมีสไบเฉียงพาดไหล่ ผู้ชายแต่งกายเช่นเดียวกับคนไทยในภาคอีสาน ส่วนชาวเขาเผ่าต่าง ๆ นิยมแต่งกายตามประเพณีของเผ่า ที่อยู่อาศัย บ้านเป็นหลังคาทรงแหลมชะลูด ยกพื้น สร้างด้วยไม้ อาหารการกิน อาหารหลักคือข้าวเหนียวและลาบ เช่นเดียวกับชาวอีสานของไทย การดนตรี เครื่องดนตรีประจำภาคคือ แคน และการแสดงคือ หมอลำแคน ส่วนการฟ้อนรำและดนตรีส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากไทย


งานประเพณีต่างๆตลอดปีของลาว

รู้จักกับ “ฮีต 12 ครอง 14” ของคนลาว
ประเทศลาวเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยวัฒนธรรมที่หลากหลายของชนเผ่าต่างๆ ซึ่งในแต่ละชนเผ่าก็มีความเชื่อ และประเพณีที่แตกต่างกัน สำหรับ “ฮีต 12 ครอง 14” นี้ถือเป็นความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่าลาวลุ่ม ที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่บรรพบุรุษ

566318-img-1
เดือนเจียง           บุญเข้ากรรม
ช่วงที่จัด             เดือนธันวาคม
ลักษณะงาน        จุดประสงค์ของงานนี้เพื่อให้พระภิกษุ สงฆ์ ผู้ต้องอาบัติขั้นสังฆาทิเสส (มีความรุนแรงรองลงมาจากอาบัติขั้นปาราชิก) เข้าพิธีกรรมปลงอาบัติด้วยการอยู่ในเขตที่จำกัด เพื่อชำระจิตใจให้สะอาด
  566318-img-2
เดือนยี่                บุญคูนลาน (บางท้องถิ่นเรียก “บุญกองข้าว”)
ช่วงที่จัด            หลังฤดูเก็บเกี่ยว
ลักษณะงาน        ก่อนที่จะนำข้าวที่นวดแล้วไปเก็บใน ยุ้งฉาง จะมีการทำบุญขวัญข้าว มีการนิมนต์พระภิกษุมาสวดเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล และเป็นนิมิตหมายที่ดีให้ปีต่อๆ ไปทำนาเกิดผลดียิ่งๆ ขึ้น
  566318-img-3
เดือนสาม            บุญข้าวจี่
ช่วงที่จัด             หลังงานมาฆบูชา
ลักษณะงาน        ชาวนาจะนำข้าวจี่ (ข้าวเหนียว) นึ่งสุก ปั้นเป็นก้อนเท่าไข่เป็ดทาเกลือ นำไปเสียบไม้ย่าง จากนั้นตีไข่ทาให้ทั่วแล้วย่างจนไข่สุก และถอดไม้ออกนำน้ำตาลอ้อยยัดใส่ตรงกลางเป็นไส้ นำไปถวายพระสงฆ์ในช่วงที่หมดฤดูทำนาแล้ว เพื่อเป็นการทำบุญ
 566318-img-4
เดือนสี่                บุญพระเวส
ช่วงที่จัด             เดือนมีนาคม ข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้
ลักษณะงาน        งานบุญพระเวส หรืองานบุญมหาชาติ เช่นเดียวกับงานฟังเทศน์เวสสันดรชาดก ซึ่งถือว่าเป็นชาดกที่ยิ่งใหญ่ ชาวบ้านจะช่วยกันตกแต่งประดับประดาโรงธรรมด้วยดอกไม้ ของหอม ใช้ดอกบัวประดับธรรมมาสน์ มีการจัดรูปขบวนแห่พระเวส และนางมัทรีออกจากป่าเข้าในเมืองไปสิ้นสุดที่พระอุโบสถ และมีการเทศน์มหาพระเวสตลอดวัน
 566318-img-5
เดือนห้า              บุญสงกรานต์
ช่วงที่จัด             ตรุษสงกรานต์
ลักษณะงาน        นับเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคน ลาว โดยมีการจัดงานติดต่อกันหลายวัน บางแขวงเช่น หลวงพระบางจะมีการจัดงานบุญสงกรานต์ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ มีประกวด และขบวนแห่นางสังขาร (นางสงกรานต์) จึงได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมากที่สุด นอกจากนั้นยังถือเป็นวันปีใหม่ลาวเช่นเดียวกับของไทยอีกด้วย
 566318-img-6
เดือนหก             บุญบั้งไฟ
ช่วงที่จัด            เดือนหกก่อนฤดูการทำนาจะมาถึง ย่างเข้าฤดูฝน
ลักษณะงาน        คล้ายกับงานบุญบั้งไฟในภาคอีสานของ ไทย จุดประสงค์เพื่อบูชาหลักเมือง และขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ปีใดที่ไม่มีการทำบุญบั้งไฟเชื่อว่าปีนั้นจะเกิดเภทภัยต่างๆ และถือเป็นสัญญาณว่าฤดูทำนากำลังจะเริ่มต้นแล้ว นับเป็นงานที่สืบทอดมาแต่ครั้งโบราณกาล





ชุดประจำชาติของประเทศลาว

          ผู้หญิงลาวนุ่งผ้าซิ่น และใส่เสื้อแขนยาวทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากล หรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุมเจ็ดเม็ด คล้ายเสื้อพระราชทานของไทย






   


วีดีโอประกอบ

     แหล่งที่มา

- http://www.lampangvc.ac.th/lvcasean/page_laos3.html
-http://hilight.kapook.com/view/73561

   วีดีโอประกอบ/ที่อยู่ของวีดีโอ


-https://www.youtube.com/watch?v=7x6rDW5arWM




                                            อินโฟรกราฟฟิค...ประเพณีวัฒนธรรมลาว



วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2560

เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาสมัยใหม่

              เทคโนโลยี หมายถึง แนวโน้มและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในอนาคตระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่างในการทำให้เกิดเป็นกลไก ในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วน คือ  บุคลากร  ขั้นตอนการปฏิบัติงาน  ฮาร์ดแวร์  ซอฟต์แวร์ข้อมูล ถ้าขาดส่วนประกอบใดส่วนประกอบหนึ่งไม่สมก็อาจทำให้ระบบสารสนเทศไม่สมบูรณ์ได้

ระบบบอกตำแหน่ง
ปัจจุบันมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลกได้ คือ จีพีเอส (Global Positioning System: GPS) ทำงานร่วมกับดาวเทียม ในระดับความสูง 20,200 กิโลเมตร สามารถบอกตำแหน่งได้ทุกแห่งบนโลก โดยความแม่นยำขึ้นอยู่กับจำนวนดาวเทียมที่จีพีเอสทำงานร่วมและสภาพอากาศ
ปัจจุบันได้นำระบบนี้มาใช้งานด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น การหาตำแหน่งบนพื้นโลก การนำมาสร้างเป็นระบบนำทาง (Navigator system) การใช้ติดตามบุคคลหรือติดตามยานพาหนะ นอกจากนี้ระบบจีพีเอสยังสามารถนำมาใช้อ้างอิงเพื่อปรับตั้งเวลาให้ถูกต้อง โดยใช้เวลาจากดาวเทียมทุกดวงซึ่งมีเวลาที่ตรงกัน
จีพีเอสนิยมใช้ในรถยนต์เพื่อเป็นระบบนำทาง โดยทำงานร่วมกับโปรแกรมแผนที่ที่บรรจุอยู่ในตัวเครื่อง ปัจจุบันมีการนำระบบจีพีเอสไปติดตั้งในเครื่องพีดีเอ กล้องดิจิทัล และโทรศัพท์เคลื่อนที่ การใช้งานจีพีเอสเพื่อระบุตำแหน่งบนพื้นโลกจำเป็นต้องติดต่อกับดาวเทียมอย่างน้อย ๓ ดวง ในกรณีที่ต้องการทราบความสูงของตำแหน่งจากพื้นโลกด้วย ต้องติดต่อกับดาวเทียมอย่างน้อย ๔ ดวง


๑.๒ อาร์เอฟไอดี
อาร์เอฟไอดี (Radio Frequency Identification: RFID) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นวิทยุในการอ่านข้อมูล ใช้ในระบบป้องกันการขโมยสินค้า ระบบอ่านบัตรประจำตัวพนักงาน ระบบเก็บค่าผ่านทาง โครงสร้างของระบบประกอบด้วย ๒ ส่วนย่อย คือ ทรานสปอนเดอร์ (Transponder) และเครื่องอ่าน (Reader)
ประโยชน์ของอาร์เอฟไอดี
๑) สามารถอ่านทรานสปอนเดอร์พร้อมกันได้หลายชิ้นและใช้เวลารวดเร็ว
๒) ทนทานต่อความเปียนชื้น
๓) มีความปลอดภัยสูง ยากต่อการปลอมแปลงและเลียนแบบ
๔) ป้องกันการอ่านข้อมูลซ้ำของวัตถุชิ้นเดียวกัน
๕) สามารถอ่านข้อมูลได้โดยไม่จำเป็นต้องมองเห็นตัวทรานสปอนเดอร์


๑.๓ เทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สาย
ปัจจุบันระบบไร้สายได้รับความนิยมอย่างมาก เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบจีเอสเอ็ม (Global System for Mobile Communication: GSM) เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีตั้งแต่ยุคที่ ๒ (2G) และยุคที่ ๓ (3G)
2G มีการบีบอัดสัญญาณเสียงในรูปแบบดิจิทัล การรับ-ส่งข้อมูลยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก
2.5G นำระบบจีพีอาร์เอส (General Packet Radio Service: GPRS) มาใช้ร่วมกับระบบจีเอสเอ็ม ทำให้สามารถรับ ส่งข้อมูและเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
เทคโนโลยีจีพีอาร์เอสนี้สามารถสื่อสารข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุด 171.2 กิโลบิตต่อวินาที ต่อมาได้มีการปรับปรุงระบบจีพีอาร์เอสให้มีความเร็วในการสื่อสารสูงขึ้นถึง 384 กิโลบิตต่อวินาที เทคโนโลยีนี้ชื่อว่า เอจ (Enhanced Data Rates for Global Evolution: EDGE) ซึ่งจัดอยู่ในยุค 2.75G
3G ทำงานในระบบซีดีเอ็มเอ (Code Division Multiple Access: CDMA) อัตราเร็วในการรับส่งข้อมูล (transmission rate) ไม่ต่ำกว่า 2 เมกะบิตต่อวินาที สามารถใช้งานมัลติมีเดียความเร็วสูงได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การรับชมวีดิทัศน์จากอินเทอร์เน็ต การสนทนาแบบเห็นภาพคู่สนทนา จึงมีการพัฒนาบริการต่าง ๆ ขึ้นอีกมากมาย เช่น การให้บริการแบบมัลติมีเดียที่สามารถรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ การประชุมทางไกลผ่านหน้าจอของโทรศัพท์เคลื่อนที่
4G ทำให้การส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงกว่า 3G มีการให้บริการที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อัตราในการส่งข้อมูลไม่ต่ำกว่า 100 เมกะบิตต่อวินาที


๑.๔ การประมวลผลภาพ
การประมวลผลภาพ (image processing) เป็นการนำภาพมาเปลี่ยนเป็นข้อมูลดิจิทัล เช่น
– ระบบตรวจกระดาษคำตอบ
– ระบบตรวจจับใบหน้าในกล้องดิจิทัล
– ระบบอ่านบาร์โค้ด
– ระบบตรวจจับการเคลื่อนไหวเพื่อการรักษาความปลอดภัย


๑.๕ การแสดงภาพ ๓ มิติ
เทคนิคการแสดงภาพ ๓ มิติ เป็นการนำภาพ ๒ มิติมาแสดงผล โดยมีเทคนิคการแสดงภาพที่ทำให้ตาข้างซ้ายและตาข้างขวามองเห็นภาพของวัตถุเดียวกันในมุมมองที่แตกต่างกัน ส่งผลให้สมองตีความเป็นภาพที่มีความลึก ตัวอย่างเทคนิคการแสดงภาพ ๓ มิติ มีดังนี้
– การแสดงภาพแบบแอนะกลิฟ (anaglyph) เป็นการฉายภาพสำหรับตาซ้ายและตาขวาที่มีโทนสีที่แตกต่างกันลงบนฉากรับภาพเดียวกัน โทนสีที่ใช้มักจะเป็นสีแดงและน้ำเงิน การมองด้วยตาเปล่าจะทำให้เห็นเป็นภาพซ้อนและเหลื่อมกันเล็กน้อย การมองภาพ ๓มิติ ต้องใช้แว่นที่มีแผ่นกรองแสงด้านหน้าที่มีข้างหนึ่งเป็นสีแดงและอีกข้างหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน


– การแสดงภาพแบบโพลาไรซ์ ๓ มิติ (polarized 3-D) มีการทำงานคล้ายกับแอนะกลิฟ โดยฉายภาพลงที่ฉากรับภาพเดียวกัน มุมมองของภาพที่แตกต่างกันแต่เปลี่ยนจากการใช้สี ไปใช้วิธีการวางตัวของช่องมองภาพแต่ละภาพที่ซ้อนกันแทน เช่น แว่นตาข้างซ้ายจะมองภาพผ่านช่องในแนวตั้ง ส่วนแว่นตาข้างขวาจะมองภาพผ่านช่องในแนวนอน ทำให้ตาแต่ละข้างมองเห็นภาพไม่เหมือนกัน เมื่อสมองรวมภาพจากตาข้างซ้ายและขวา จะมองเห็นภาพเป็น ๓มิติ


– การแสดงภาพแบบแอ็กทิฟชัตเตอร์ (active shutter) อาศัยการฉายภาพที่มีความถี่ในการแสดงภาพอย่างน้อย 120 เฮิร์ต เนื่องจากต้องแสดงภาพสำหรับตาซ้ายและตาขวาสลับกันไปจนครบ 120 ภาพ ใน 1 วินาที ตาข้างซ้ายและขวาจึงเห็นข้างละ 60 ภาพใน 1 วินาที ซึ่งเป็นความถี่ขั้นต่ำที่ทำให้ไม่รู้สึกว่าภาพสั่น การฉายภาพลักษณะนี้ต้องใช้แว่นตาแอ็กทิฟชัตเตอร์ช่วยในการมองเห็นภาพ โดยแว่นตาจะสื่อสารกับเครื่องฉายว่าจะบังตาข้างไหนในขณะฉายภาพ เช่นภาพสำหรับตาซ้าย เครื่องฉายจะส่งสัญญาณให้แว่นบังตาขวา ดังนั้นแว่นนี้ต้องใช้สัญญาณไฟฟ้าในการทำงาน ตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีนี้ เช่น โทรทัศน์ 3 มิติ


– การแสดงภาพแบบพาราแลกซ์บาร์เรีย (paralax barrier) จะไม่ใช่แว่นตา วิธีนี้จะแบ่งภาพที่มีมุมมองต่างกันออกเป็นแท่งแล้วนำไปวางสลับกัน โดยมีชั้นกรองพิเศษ ทีเรียกว่า พาราแลกซ์บาร์เรีย ในการแบ่งภาพให้ตาแต่ละข้างที่มองผ่านชั้นกรองนี้เห็นภาพที่แตกต่างกัน แล้วสมองจะรวมภาพจากตาซ้ายและตาขวาที่มีมุมมองต่างกันนี้ให้เป็นภาพเดียวกัน ทำให้เรามองเห็นเป็นภาพ ๓ มิติ เช่น กล้องดิจิทัล ๓ มิติ ที่เราสามารถมองเห็นภาพถ่ายบนจอแอลซีดีเป็นภาพ ๓ มิติ



๑.๖ มัลติทัช
รับข้อมูลโดยใช้นิ้วสัมผัสที่จอภาพโดยตรง เรียกว่า จอสัมผัส (touch screen) ทำให้การใช้งานมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้โดยตรง เช่น จอสัมผัสตู้เอทีเอ็ม จอสัมผัสแสดงข้อมูลร้านค้าในห้างสรรพสินค้า จอสัมผัสเครื่องจีพีเอส จอสัมผัสเครื่องพีดีเอ จอสัมผัสสมาร์ทโฟน จอสัมผัสเหล่านี้สั่งการโดยใช้สไตลัส (Stylus) หรือนิ้วสัมผัสบนจอ การสั่งการที่สัมผัสจอภาพทีละจุด เรียกว่าซิงเกิลทัช (Single touch)
ปัจจุบันสามารถรองรับคำสั่งผ่านหน้าจอสัมผัสได้หลายจุดพร้อมกัน เรียกว่า มัลติทัช (multi touch) ทำให้มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ พีดีเอ และสมาร์โฟนแตกต่างออกไป แทนที่จะให้อุปกรณ์นั้นรับรู้การเลือกได้เพียงจุดเดียวในเวลาหนึ่ง ทำให้อุปกรณ์รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเลือกหลายจุดพร้อมกันในเวลาเดียวกัน การรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากรูปแบบการเคลื่อนไหวของนิ้วมือหลายนิ้วของผู้ใช้สัมผัสไปบนจอภาพโดยตรง หรือในเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ผู้ใช้สามารถสัมผัสแผงแป้นสัมผัสหรือเรียกว่า ทัชแพด (touchpad) เพื่อเลือก เลื่อน หรือขยายวัตถุที่แสดงผลอยู่


  • ที่มาของข้อมูล/เอกสารอ้างอิง
  •    https://youtu.be/wcmFdwws3rM
  • https://porsn1977.wordpress.com/e-learning/